วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557





เผ่าพันธุ์ของประชากร


ประชากรปัจจุบันของประเทศปาปัวนิวกินี



ปาปัวนิวกินี ประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ โดยชนเผ่าหลัก ๆ ได้แก่
                -เมลานีเชียน                                       
                -นิกริโต
                -ปาปัว 
                -ไมโครนีเซียน
                -โปลินีเซียน 
              




          พวกเมลานีเซียน   มีความสูงระดับปานกลาง ผมหยิกหยอย กะโหลกศีรษะค่อนข้างยาว และมีผิวสีน้ำตาลเข้ม อยู่เป็นกลุ่มในเกาะทางเหนือ ทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของนิวกินี

        พวกนิกริโต ผิวดำ ผมหยิก ศีรษะกลม จมูกแบน รูปร่างเล็ก สูงราว 1 - 1.5 เมตร พวกนิกริโตนี้จะไม่สร้างบ้านปลูกเรือน ได้แต่อาศัยนอนตามเชิงผาป่าไม้เป็นทับที่อยู่ ใช้กิ่งไม้วางปูเป็นพื้นสำหรับนอนและสร้างเป็นเพิงต่างๆ มุงและกรุด้วยใบไม้มีขนาดพอนอนได้ อาศัยรากไม้ เหง้าไม้ และไม้ในป่า จับปลาจับสัตว์เล็กๆ มาทำเป็นอาหาร พบอยู่ในเขตภูเขากลางเกาะนิวกินี
 


      พวกปาปัวหรือโอเซียนิคนิโกร
มีรูปร่างสูงและมีวัฒนธรรมสูงกว่าพวกนิกริโตอยู่ในเกาะนิวกินีและเกาะใกล้เคียง



      พวกไมโครนีเซียน เป็นพวกเชื้อสายนิกรอยด์ ผิวดำ ผมหยิก อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านชายฝั่ง แต่เดิมบริเวณหมู่เกาะไมโครนีเซียมีพวกอินโดนีเซียนมาอาศัยอยู่ หลักฐานทางเผ่าพันธุ์และวัฒนธรรมบอกให้ทราบได้


        พวกโปลินีซียน มีถิ่นฐานอยู่ในหมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ผิวสีน้ำตาลอ่อน ผมหยักเป็นลอน กะโหลกศีรษะยาวปานกลาง จมูกไม่โด่งนัก เป็นพวกที่มีวัฒนธรรมสูงกว่าชนพื้นเมืองกลุ่มอื่นๆ




ขนบธรรมเนียมประเพณี
        
            โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม  วัฒนธรรมของประเทศปาปัวนิวกินีประกอบไปด้วยชนเผ่าเป็นจำนวนมาก มีภาษากว่า 800 ภาษาทำให้มีสังคมแบบชนเผ่าอย่างมากในประเทศ ทำให้มีประเพณีที่แตกต่างกันถึง 200 ประเพณี แต่ละเผ่าพันธุ์ต่างก็มีมรดกทางวัฒนธรรม และลักษณะทางสังคมของตนสืบทอดกันมา ชนเหล่านี้เมื่อถูกรวมกันเข้าภายใต้ระบบการเมือง เศรษฐกิจและการป้องกันประเทศร่วมกัน
                จากการที่สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศปาปัวนิวกินี มีลักษณะแยกกันเป็นหมู่เกาะมากมาย และมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประชากรติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง จึงปรากฏลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาที่ใช้ผิดแผกแตกต่างกัน การแบ่งกลุ่มชนตามขนบธรรมเนียมประเพณี และพื้นที่ตั้ง สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
              กลุ่มที่แรก เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของเกาะต่าง ๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีวิตทางวัฒนธรรมตามหลักของศาสนาคริสต์อย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจของสังคมปาปัวนิวกินียุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทางศาสนา และกฎหมาย
                กลุ่มที่สอง  เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมาก อาศัยอยู่ตามบริเวณเทือกเขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และการเพาะปลูก รัฐบาลปาปัวนิวกินีได้เข้าไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชนกลุ่มนี้แล้ว 
การแต่งกาย
      การแต่งการของคนในปาปัวนิวกินีนั้นถือได้ว่ามีความหลากมากเพราะการที่ภูมิประเทศเป็นเกาะแก่งและเทือกเข้าทำให้การคมนาคมนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบากทำให้กลุ่มคนในแถบนี้ติดต่อกันยากลำบากทำให้วัฒนธรรมการแต่งตัวนั้นหลากหลายไปด้วย



การแต่งของผู้หญิง เครื่องประดับจมูกผู้หญิงทำจากกระดูกปีกของสัตว์  สวมสร้อยคอทำจากเขี้ยวของสุนัขซึ่งได้รับเป็นมรดกมาจากแม่ของตัวเองอีกทีและถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก สวมกระโปรงที่ทำจากเปลือกไม้และเส้นใยจากต้นปาล์มสาคู



การแต่งการของผู้ชาย จะสรวมสร้อยคอทำจากเคี้ยวหมูและใช้แค่ใบไม้ปิดอวัยวะสืบพันธุ์  แต่บางกลุ่มก็ใช้ผลไม้เปลือกแข็งคล้ายถั่วห้อยปิดอวัยวะไว้เท่านั้น  ส่วนรอบอกบางคนก็มีเครื่องประดับเช่นกัน


วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557



ประวัติศาสตร์ปาปัวกินี 

ประวัติศาสตร์หลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า มนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนิวกินีมานานกว่า 60,000 ปี คาดว่าเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคน้ำแข็ง (Ice Age) ในช่วงศตวรรษที่ 16 นักเดินเรือชาวโปรตุเกสและสเปนเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาในดินแดนแห่งนี้ ดอน ฮอร์เก เดอ เมเนเซส ชาวโปรตุเกสได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “ปาปัว” (Papua) ซึ่งเป็นภาษาต่อมา แยนจิโอ ออร์ติซ เดอ เรอเตซ ชาวสเปนได้เรียกเกาะนี้ว่า นิวกินี” (New Guinea) เนื่องจากเห็นว่า ชนพื้นเมืองมีความคล้ายคลึงกับชนพื้นเมืองในประเทศกินี (Guinea) ในแอฟริกาตะวันตก


                    ปี ค.. 1884 เยอรมณีได้เข้ายึดครองภาคเหนือของเกาะ รวมทั้งเกาะโบเกนวิลล์ เรียกว่า German New Guinea
                    ปี ค.. 1888 อังกฤษเข้ายึดครองส่วนใต้ของเกาะ เรียกว่า British New Guinea
                    จนกระทั้งปี ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดและเป็นผู้ปกครองเกาะจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945
                    จากนั้น ในปี ค.ศ. 1949 ปาปัวและนิวกินีตกอยู่ในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ โดยมีออสเตรเลียเป็นผู้ดูแล




     

      ภาวะทรัสตี(Trusteeship)

หมายถึง  ดินแดนที่ยังปกครองตนเองไม่ได้ ยังไม่ได้รับเอกราชที่สมบูรณ์ ซึ่งองค์การต้องให้ความคุ้มครองดูแล
การที่สหประชาชาติจัดตั้งระบบการภาวะทรัสตีขึ้นเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของประชาชนแห่งดินแดนทรัสตีไปสู่การปกครองตนเองหรือความเป็นเอกราช
2. เพื่อสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและเพื่อส่งเสริมการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างประชากรของโลก
3.ให้ดินแดนที่อยู่ในระบบภาวะทรัสตี มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการศึกษา เพื่อให้มีความสามารถปกครองตนเองได้ในเวลาอันสมควร
                    เรียกดินแดนนี้ว่า “Territory of Papua and New Guinea”
                    ปี ค.ศ. 1972 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea) 
                    พร้อมทั้งจัดการเลือกตั้งคณะรัฐมนตรี ได้หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคือ  Michael Somare   
                    ปี ค.ศ. 1975 ปาปัวนิวกินีได้รับเอกราชจากออสเตรเลีย 






   ภาษา
ปาปัวนิวกีนีมีภาษามากกว่าประเทศอื่นๆมีกว่า 820 ภาษาพื้นเมืองเช่นอังกฤษพิดจินและภาษาโมตู คิดเป็น 12 % ของภาษาของโลกภาษาพื้นเมืองที่จัดเป็นหนึ่งในสองกลุ่มใหญ่ประมาณ 715 ภาษาและยังมีการรับรองภาษาราชการถึง 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาท๊อกพิซิน และภาษาฮิริโทตู
  ศาสนา
ขาวปาปัวนิวกินีส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอริก นิกายลูเธอรัน และที่เหลือนับถือความเชื่อพื่นเมือง
  อาหาร
ส่วนใหญ่ชนเผ่าดำรงชีวิตด้วยการฆ่าสัตร์จำพวกหมูป่า นก งู แมลงเล็กๆ และกินผักจำพวกปาล์ม






           การทำแป้งจากต้นสาคู





     


           การเตรียมอาหาร






ที่อยู่อาศัย
แต่ละชนเผ่าส่วนใหญ่จะอยู่บนต้นไม้ หรือบ้านต้นไม้ ลักษณะของบ้านจะปลูกขึ้นที่สูง







ความสัมพันธ์ระหว่างชนเผ่า
แต่ละหมูบ้านจะมีบ้านเรือนแค่ 1-5 หลัง ระยะห่างของกลุ่มการตั้งถิ่นฐานจะห่างกัน เนื่องจากภูมิศาสตร์ที่เป็นเขา ทำให้กลุ่มชนบางกลุ่มมีความเป็นอยู่ที่สันโดษและไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชนอื่นๆ ที่อยู่ห่างกันเพียงไม่กี่กิโลเมตรแต่น้อย



วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สภาพทางภูมิศาสตร์และกายภาพ



ปาปัวนิวกินีมีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นภูเขาและฝั่งทะเลเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก (รองจากเกาะกรีนแลนด์) ตั้งอยู่ทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทิศตะวันตกติดกับอินโดนีเซีย มีเทือกเขาขนาดใหญ่  และมีภูเขาและภูเขาไฟจำนวนมาก พื้นที่ราบเป็นป่าดิบชื้น และทุ่งหญ้าสะวันนา พืชสำคัญคือ มะพร้าว ปาล์ม และเตย

ภูมิภาคนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ได้แก่

1.หมู่เกาะเมลานิเซีย (Melanesia หรือ black islands) อยู่ใกล้ออสเตรเลีย ประกอบด้วยเกาะนิวกินีและเกาะทางตะวันออกไปจนถึงหมู่เกาะฟิจิ
2.หมู่เกาะไมโครนีเซีย (Micronesia หรือ tiny islands) ประกอบด้วยเกาะเล็กๆกระจายอยู่ตอนกลางและทางตะวันตกของมหาสมุทรเหนือเส้นศูนย์สูตร
3.หมู่เกาะโปลินีเซีย (Polynesia หรือ many islands) อยู่ทางตะวันออกสุดของภูมิภาค ไปจนถึงหมู่เกาะฮาวายและเกาะอีสเตอร์